วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559


ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

  ศาสนาอิสลาม  มีพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.๒๔๘๘  และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๔๙๑ และมัสยิดอิสลาม พ.ศ.๒๔๙๐ โดยจะหารือจุฬาราชมนตรี และกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับก อ่านเพิ่มเติม
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
ความหมายของศาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ “ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


1. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Religion” คำในภษาละตินว่า“Religio” แปลว่า “สัมพันธ์” หรือ “ผูกพัน” ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า” (M อ่านเพิ่มเติม
หน้าที่และมารยาทของชาวพุทธ
พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้

บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา


             พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบร อ่านเพิ่มเติม
พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง
พระอานนท์

 


ประวัติ
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่านจึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่า อุบาลี

หลังจากบวชแล้ว ท่านได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานีบุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผล และได้มารับหน้าที่ พุทธอุปัฏฐาก ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า จนกระทั่งหลังพระพุทธเจ้าปริ อ่านเพิ่มเติม
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
1. การบริหารจิต
          การบริหารจิต หมาย ถึง การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์  ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง


สมาธิ หมายถึง ภาวะของจิตที่ตั้งมั่น กำห อ่านเพิ่มเติม
พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า  ไว้เป็นหมวดหมู่   แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ
   1.  พระวินัยปิฎก  ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
   2.  พระสุตตันตปิฎก  ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
   3.  พระอภิธรรมปิฎก   ว่าด้วยธรรมะล้วน  ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
พระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม

ความสำคัญของพระรัตนตรัย

      พระรัตนตรัยนอกจากจะเป็นแก้วอันประเสริฐของชาวพุทธแล้ว พระรัตนตรัยยังเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่ดีที่สุดของชาวพุทธ ในชีวิตประจำวันของชาวพุทธจะเกี่ยวข้องกับพระรัตนตรัยอยู่เสมอ เช่น ตื่นนอนตอนเช้าสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนไปทำงานนิยมไหว้พระก่อนออกจากบ้านเมื่อไปถึงที่ทำงานนิยมไหว้พระประจำสถานที่ทำงาน และไหว้พระรัตนตรัย ก่อนนอนทุกคืน นักเรียนก็เช่นเดียวกัน ก่อนเข้าเรียนหลังเคารพธงชาตินักเรียนจะต้องสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยก่อนเลิกเรียนก็สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนนอนก็สวดมนต์ ดังนั้นพระรัตนตรัยจึงมีความสำคัญต่อชาวพุทธอย่างยิ่ง

โอวาท 3  หมายถึง คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำสั่งสอนที่พระองค์ตรัสแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ซึ่งมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ เวฬุวันมหาวิหาร วันนั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เรียกว่า วันมาฆบูชา

โอวาท 3 ได้แก่


 1. ไม่ทำชั่ว อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี
1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
               1) วันมาฆบูชา
 วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
 ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
 หลักคำสอน 3 ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป


                2.) วันวิสาขบูชา  อ่านเพิ่มเติม
พุทธประวัติและชาดก
  1.1 หลักการสอนของพระพุทธเจ้า


พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงสอนใครแต่ละครั้ง พระองค์ก็ทรงอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง ในการสอนบุคคลระดับต่างๆ ที่มีพื้นฐานความรู้ สติปัญญาที่แตกต่างกัน พระองค์ได้ประยุกต์คำสอนแต่ละลักษณะให้มีความเหมาะสม เป็นการสอนที่แสดงถึงพุทธลีลาของพระองค์ ที่สำคัญการสอนในลักษณะนี้ของพระองค์ เป็นการนำเนื้อหาที่มีอยู่มาทำการตีความ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วนำเข้าสู่หลักการที่ถูกต้อง ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาดังนี้ อ่านเพิ่มเติม
ประวัติและความสําคัญของพระพุทธศาสนา
๑.๑ พระพุทธศาสนามีทฤษฎี และวิธีการที่เป็นสากล
1. หลักธรรมที่เป็นสากล เป็นหลักธรรมที่สามารถถือประพฤติปฏิบัติได้ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกชนชั้นของสังคม หากประพฤติปฏิบัติตามก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสันติสุข โลกเกิดความสงบ ไม่เบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน ไม่ก่อให้เกิดสงครามซึ่งส่งผลเสียหายต่อมวลมนุษยชาติและธรรมชาติอย่างมหาศาล หลักธรรมที่เป็นสากลของพระพุทธศาสนา มีดังต่อไปนี้


1.1 หลักความเป็นกฎธรรมชาติ ได้แก่ถือว่า ความจริงนั้นเป็นกฎธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดาของมัน พระพุทธเจ้ามีฐานะเป็นผู้ค้นพบ หมายความว่า กฎความจริงของธรรมชาติมันมีอยู่อย่างนั้นเองเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่อุบัติขึ้นก็ตาม ธรรมชาติก็เป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นไม่มีใครฝืนกฎของธรรมชาติไปได้ ซึ่งหลักการนี้ถือว่าเป็นสากล เพราะการที่เราฝืนธรรมชาติจะก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย เช่น การผลิตเทคโนโลยีที่สนองความต้องการหรือความสะดวกสบายของมนุษย์ ก่อให้เกิดผลเสียต่อธรรมชาติ เกิดมลพิษทั้งในอากาศ ในน้ำ และบนบก เป็นต้น หลักธรรมที่เป็นกฎธรรมชาติ เช่น หลักไตรลักษณ์ อ่านเพิ่มเติม